จริงๆแล้ว จป หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เปรียบเสมือน ผู้พิทักษ์ความปลอดภัย ของลูกจ้างในสถานประกอบการ ทุกระดับมีความสำคัญต่อองค์กร แต่ จป หัวหน้างาน มีบทบาทที่ โดดเด่น กว่า จป ระดับอื่นๆ ดังนี้
1 อยู่ใกล้ชิดกับลูกจ้าง
จป หัวหน้างาน ดูแล และ ควบคุม ลูกจ้างโดยตรง เข้าใจถึง สภาพการทำงาน อันตราย และ ความเสี่ยง ของลูกจ้างแต่ละคนได้ดี และสามารถแก้ไขปัญหา และ ป้องกันอันตราย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2 เป็นผู้บังคับบัญชา
จป หัวหน้างาน มีอำนาจสั่งการให้ลูกจ้างปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยควบคุม ดูแลให้ลูกจ้างทำงานอย่างปลอดภัย และสามารถกำหนดบทลงโทษแก่ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยได้ทันที
3 เป็นตัวอย่างที่ดี
จป หัวหน้างาน เป็นแบบอย่าง ให้กับลูกจ้างเพื่อปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ส่งเสริมให้ลูกจ้างมีความปลอดภัย สร้างจิตสำนึกหรือความตระหนักรู้ (consciousness) ปลูกฝังให้กับพนักงานหรือลูกจ้างให้เป็นเยี่ยงอย่างได้อย่างดี
4 สื่อสารกับนายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จป หัวหน้างาน รายงาน ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยต่อนายจ้าง เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพร้อมประสานงานกับนายจ้าง ในทุกๆด้านของการทำงานด้านความปลอดภัย รวมไปถึงมนุษย์สยสัมพันต่อบุคคลากร รวมถึงการในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัย
5 มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
แน่นอนประสบการณ์ของ จป หัวหน้างาน ต้องมีประสบการณ์จริงที่จะสอนหรือแนะนำบุคคลากรได้ ได้รับการ อบรม หัวหน้างาน เกี่ยวกับหลักสูตรความปลอดภัยมาอย่างดี มีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับด้านความปลอดภัย สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาแนวทางป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น จป หัวหน้างาน จึงเปรียบเสมือน ฟันเฟือง ที่สำคัญ ในการขับเคลื่อน กลไก ด้านความปลอดภัยขององค์กร นอกจากนี้ จป หัวหน้างาน ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร ให้ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างซึ่งส่งผลดีต่อองค์กรโดยรวม รวมถึงอุบัติเหตุและจากการทำงานในองค์กร