อำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน พ.ศ.2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้

บทบาทหน้าที่หลักๆ มีทั้งหมด 13 ข้อ

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  3. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  4. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
  5. สอบสวน วิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ อาชีพโรค และเหตุการณ์อันตราย
  6. เสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปรับปรุง มาตรการป้องกัน และควบคุมอันตราย อาชีพโรค และเหตุการณ์อันตราย
  7. ให้ความรู้ ฝึกอบรม ให้คำแนะนำ ปรึกษา เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  8. รวบรวม สถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  9. เสนอแนะมาตรการในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
  10. ร่วมดำเนินการกับหน่วยงานราชการ ในการตรวจสอบ สถานประกอบกิจการ
  11. ร่วมปฏิบัติงานกับคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
  13. ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2565 สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา